วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของสถิติในงานวิจัย

ประโยชน์ของสถิติในงานวิจัย

นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงประโยชน์ของสถิติในงานวิจัยไว้ ดังต่อไปนี้

กัลยา วานิชย์บัญชา (2549 : 4 - 5) กล่าวถึงประโยชน์ของสถิติในงานวิจัย ไว้ดังนี้

1. ช่วยวางแผนของงานวิจัย ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดขนาดตัวอย่าง การออกแบบงานวิจัยในขั้นต่าง ๆ

2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นเหตุการณ์หรือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ทราบว่า

- วิธีการรักษาคนไข้ด้วยวิธี A ให้ผลดีกว่าวิธีการรักษาแบบอื่น ๆ

- ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด

- นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนเป็นอย่างไร เป็นต้น

3. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อสามารถหาสาเหตุได้แล้วจะได้นำไปวางแผนหรือหาทางแก้ไข เช่น

- สาเหตุที่ทารกแรกเกิดพิการ หรือเรียกว่าทารกมีความพิการแต่กำเนิดเนื่องจากขณะที่แม่ตั้งครรภ์มีการติดเชื้อ หรือได้รับยาบางชนิด เป็นต้น

- สาเหตุที่ลูกค้าไม่พอใจในสินค้าหรือบริการ เนื่องจากผู้ให้บริการไม่มีความเต็มใจที่จะให้บริการ

- สาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทั้งที่บ้านและกลุ่มเพื่อนสนิทที่โรงเรียนแตกต่างกัน เป็นต้น

4. การประเมินผลงาน

ชวนชัย เชื้อสาธุชน (2551 : 3 - 4) กล่าวถึงประโยชน์ของวิชาสถิติ ไว้ดังนี้

1. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะชีวิตคนในวันหนึ่ง ๆ นั้น จะประสบกับเหตุการณ์หรือข้อมูลต่าง ๆ มากมาย การแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดจึงจำเป็นจะต้องอ่านและแปลเหตุการณ์เป็น หรือจะพูดว่าต้องทันต่อข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นแล้วก็จะดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมสู้คนอื่นไม่ได้

2. เพื่อใช้ในการค้นคว้าเอกสาร ปัจจุบันวิทยาการก้าวหน้ามาก แต่ละวิชาจะมีเอกสารออกมามากมาย และเอกสารส่วนใหญ่จะอธิบายด้วยข้อมูล ข่าวสาร นำหลักการทางสถิติมาอธิบายกันมากมาย ผู้ที่ขาดความรู้ทางสถิติจะทำให้ตามวิชาการใหม่ ๆ ไม่ทัน จะกลายเป็นคนล้าสมัย ถ้ามีความรู้ด้านสถิติแล้วก็จะทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

3. เพื่อใช้ในการทดลองและวิจัย การทดลองใด ๆ มักจะเกิดตัวเลขที่ไม่แน่นอนคงที่อยู่เสมอ การแปลความหมายของตัวเลขเหล่านี้ได้ จึงต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ การวิจัย ก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ ต้องใช้วิธีการทางสถิติทั้งนั้น เพื่อทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย ถ้าไม่รู้วิธีการทางสถิติจะแปลความหมายของข้อมูลได้ไม่ดีเท่าที่ควร

4. เพื่อให้เกิดปัญญา ที่กล่าวดังนี้ก็เพราะการเรียนวิชาสถิติต้องใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติ ซึ่งเป็นแบบเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สถิติจะเต็มไปด้วยการแปลความหมายโดยอาศัยหลักเหตุผลทั้งนั้น การฝึกคนให้รู้จักวิธีการคิดอย่างมีวินัยทางเหตุผล ย่อมเป็นการส่งเสริมให้คนแก้ปัญหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พบเห็นได้เก่ง นั่นก็คือเสริมสร้างปัญญาให้คิดเป็นนั่นเอง

นิภา ศรีไพโรจน์ (2553 : ออนไลน์) กล่าวถึงประโยชน์ที่สำคัญของการวิจัย ไว้ดังนี้

1. ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่าง ๆ ขึ้น

2. จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสภาพปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ กำหนดนโยบายหรือวางแผนงานต่าง ๆ ให้ไปสู่เป้าหมายได้

3. เป็นการวิจัยที่เหมาะกับทางสังคมศาสตร์มาก เพราะจะได้รายละเอียดชัดเจนแน่นอน

4. ผลการวิจัยช่วยให้สามารถมองเห็นแนวโน้มของเหตุการณ์ในอนาคตได้

5. ทำให้ทราบความสัมพันธ์ของสภาพการณ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานให้ดีขึ้น

วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2553 : 16) กล่าวถึงประโยชน์ของวิชาสถิติ ไว้ดังนี้

1. เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งนี้เนื่องจากในวันหนึ่งจะประสบกับเหตุการณ์หรือข้อมูลต่าง ๆ มากมาย การแก้ปัญหาที่ชาญฉลาดจึงจำเป็นจะต้องอ่านและแปลเหตุการณ์เป็น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้องทันข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อใช้ในการค้นคว้าเอกสาร ปัจจุบันวิทยาการก้าวหน้ามาก แต่ละวิชาจะมีเอกสารมากมาย และเอกสารส่วนใหญ่จะอธิบายด้วยข้อมูลข่าวสารเป็นสื่อสัมพันธ์ นำหลักการทางสถิติมาอธิบายกันมากมาย ผู้ที่ขาดความรู้ทางสถิติจะทำให้ตามวิทยาการใหม่ ๆ ไม่ทัน

3. เพื่อใช้ในการทดลองและวิจัย การทดลองใด ๆ มักจะเกิดตัวเลขที่ไม่แน่นอน การที่จะแปลความหมายขอบตัวเลขเหล่านั้นได้จะต้องอาศัยวิธีการทางสถิติ ในการวิจัยก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์จะต้องใช้วิธีการทางสถิติทั้งสิ้นเพื่อทดสอบสมมุติฐานของการวิจัย ถ้าไม่รู้วิธีการทางสถิติก็จะไม่สามารถแปลความหมายของข้อมูลเหล่านั้นได้ดีพอ

4. เพื่อให้เกิดปัญหา ทั้งนี้เนื่องจากการเรียนสถิติต้องใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติซึ่งเป็นแบบเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สถิติจะเต็มไปด้วยการแปลความหมาย โดยอาศัยหลักเหตุผล การฝึกคนให้รู้วิธีการคิดอย่างมีเหตุผล ย่อมเป็นการส่งเสริมให้คนแก้ปัญหาในเหตุการณ์ ที่พบเห็น นั่นคือการส่งเสริมให้คนมีปัญหานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น